ไขมันหรือว่าลิพิด  เรามักจะคุ้นเคยคำหว่าไขมันมากกว่า  ตามจริงแล้วไขมันเป็นส่วนหนึ่งของลิพิดเท่านั้นลิพิดจะประกอบไปด้วย  ไขมันและน้ำมัน  เนื่องจากความคุ้นเคยส่วนใหญ่มักใช้คำว่าไขมันจึงขอใช้คำว่าไขมันไปเลย  ไขมันได้จากพืชและสัตว์เป็นสารินทรีย์ที่ทั้งพืชและสัตว์สามารถสะสมได้  ให้พลังงานสูง 9 กิโลแคลอรีต่อกรัม  พบในอาหารที่มีความมันลื่น  ไขมันยังทำหน้าที่ละลายวิตามินบางชนิด  ป้องกันความร้อนและความเย็นภายในร่างกาย  ในพื้นที่มีอากาศเย็นจัดมักต้องการไขมันมากกว่าอยู่ในเขตอากาศอบอุ่น  ไขมันยังช่วยให้รสชาติของอาหารดีขึ้น  เมื่อรับเข้าไปแล้วทำให้อิ่มได้นาน

                 ลักษณะของไขมัน  ไขมันเป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบไปด้วย  คาร์บอน  ไฮโดรเจน  และออกซิเจน  เป็นสารประกอบที่ไม่ละลายน้ำ  แต่ละลายได้ดี  อีเทอร์  โครไรฟอรัม  เบนซิน  อะซีโต  ให้พลังงานสูงกว่าคาร์โบไฮเดรต  ที่อุณหภูมิสูง 25 องศสาเซลเซียสถ้าเป็นก้อนหรือของแข็งเรียกว่าไขมัน  หากเป็นน้ำเรียกว่าน้ำมัน  มีความเหนียวลื่น  ไขมันบริสุทธิ์จะเป็นสีขาวหากมีสารประกอบจะเป็นสีเหลือง

อาหารที่มีลิพิด  มีการจำแนกได้ 3 ชนิดคือ

  1. ไตรกลีเชอไรด์ ประกอบไปด้วย  คาร์บอน  ไฮโดรเจน  ออกซิเจน  มีองค์ประกอบโมเลกุล  กลีเซอรอล 1 โมเลกุล  กรดไขมัน 3 โมเลกุล  ซึ่งกรดไขมันมีการจำแนกตามจำนวนไฮโดรเจนในโมเลกุลได้ 2 ชนิดคือ
    • กรดไขมันอิ่มตัว มีไฮโดรเจนมาเกาะบนคาร์บอน  ปลายข้างหนึ่งเป้นกรด  อีกข้างเป็นเมธทิลและไม่สามารถที่จะรับไฮโดเจนได้อีก  ไม่เกิดการเหม็นหืดได้ง่าย  พบใน  ไขของสัตว์
    • กรดไขมันไม่อิ่มตัว เนื่องจากไฮโดรเจนที่มาเกาะคาร์บอนบางตัวหายไป  สามารถเติมเข้ามาเพกาะอีกได้  รวมตัวกับออกซิเจนได้ง่าย  ทำให้เกิดเหม็นหืดได้ง่าย  มีจุดหลอมเหลวต่ำ  มักได้จากพืช  อย่างเช่น  น้ำมันถั่วเหลือง  น้ำมันดอกทานตะวัน  น้ำมันมะกอก  เป็นต้น
  2. ฟอสโฟไลปิด เป็นไตรกลรีเซอรไรด์ที่มีกลุ่มฟอสเฟตจะแทนที่กรดไขมัน 1 ตัว  จับกับสารประกอบไนโตเจนเราจะได้รับฟอสไฟลิพิดประมาณ 1 – 3 กรัมต่อวัน  มีคุณสมบัติคือละลายน้ำได้ได้ง่ายจากกรดไขมัน  หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่า  เลมิติน  พบมากในไข่แดง  ถั่วเหลือง  สามารถป้องกันการเกาะตัวของเส้นเลือด  สามารถสร้างได้ด้วยตับ
  3. สเตอรอน หรือโคเลสเตอรอล  พบในสัตว์ทุกชนิดแต่ไม่พบในพืช  ที่พบมากเช่น  ตับ  สมอง  ไต  มักพบร่วมกับไขมันอิ่มตัว  ร่างกายสามรถสร่างเองได้ด้วยตับและเซลล์ในลำไส้เล็ก  ในร่างกายมีอยู่ร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักของร่างกาย  และสร้างในแต่ละวัน 600 – 1,500 มิลิกรัม

ความสำคัญและหน้าที่ของไขมัน

  1. เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย ไขมัน 1 กรัมให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี  ไม่ว่าไขมันจะได้จากสัตว์หรือได้จากพืชก็ให้พลังงานที่มากกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน  สามารถสะสมพลังงานไว้ในร่างกายร้อยละ 70 อยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆ  ของร่างกาย  ในรูปของไตรเอชิกกลีเซอรรอน
  2. ให้กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย กรดไขมันที่เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างผนังเซลล์  แลพใช้ในโครงสร้างของเซลล์สมองต่อกรดไขมันไลไนลิอิก  นอกจากนั้นยังทำหน้าที่อื่นๆอีกเช่น  ระบบภูมิคุ้มกัน  การมองเห็น  หากไม่ได้รับกรดไขมันอาจจะทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกายได้  เช่นผิวหนังแห้ง  โลหิตจาง  การเจริญเติบโตช้า  กรดไขมันชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกายและมีประโยชน์มากคือโอเมก้า 3 ที่เราเคยได้ยินกันบ่อยนั้นเอง
  3. ควบคุมการทำงานของร่างกาย กรดไขมันชนิดต่างๆ  ทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนหลายชนิด  เกี่ยวกับการทำงานต่างๆของร่างกาย  เช่น  ความดันโลหิตการแข็งตัวของเลือด  การต่อไข  เป็นต้น
  4. เป็นตัวทำละลายวิตามินหลายชนิด เช่น  วิตามิน เอ ดี อี เค ช่วยดูดซึมวิตามินที่ละลายไขมัน
  5. ป้องกันอวัยวะต่างๆของร่างกาย ไตรเอซิเลซิเซอรอล  เป็นเนื้อเยื่อไขมันในร่างกายที่ห่อหุ้มอวัยวะต่างๆ  ป้องกันการกระทบกระเทือน  ป้องกันการสูญเสียความร้อนในร่างกาย  หากอากาศร้อนจะไม่สบายตัวได้
  6. ทำให้อาหารนุ่ม มีกลิ่นและรสที่ดี  เนื่องจากไขมันจะดูดกลิ่นและทำให้อาหารมีความมันจึงทำให้เนื้ออาหารอร่อย
  7. ทำให้อิ่มได้นาน เนื่องจากทำให้การผลิตน้ำย่อย  ของอาหารได้น้อยลงจึงทำให้ใช้เวลาการย่อยผ่านกระเพาะอาหารได้นาน  ถึงลำไส้ช้าลง  จึงทำให้อิ่มได้นาน

แหล่งอาหารของไขมัน

                สำหรับอาหารที่ให้ไขมันนั้นได้จากทั้งพืชและสัตว์  จากพืชเช่น  ถั่ว  วอลนัท  มะพร้าว  ถั่วเหลือง  เมล็ดทานตะวัน  เป็นต้น  ผลไม้และผักมักให้ไขมันที่น้อยกว่าสัตว์โดยส่วนมาก  แต่รายชื่อพืชข้างต้นอาจจะให้ขันมากกว่าสัตวืบางชนิด  ไขมันจากพืชจะมีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายและเป็นไขมันที่ไม่อิ่มตัวสำหรับไขมันจากสัตว์  ได้แก่เนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ  เนื้อหมู  เนื้อวัว  เนื้อไก่  เนื้อปลา  ในเครื่องในสัตว์มีจำนวนคอเลสเตอรอลสูงมาก  เช่น  สมอง  หัวใจ  ตับ  นอกจากนั้น  ไข่  นม  เป็นอาหารที่มีไขมันต่ำที่ได้จากสัตว์  อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงทำให้มีการสะสมในกระแสเลือดด้วย

การย่อยของไขมัน

ในการย่อยนั้นจะถูกย่อยที่กระเพาะอาหารเป็นอันดับแรก  การย่อยมีขั้นตอนดังนี้

             ปาก : จะทำให้เป็นชิ้นขนาดเล็ก  จะมีเอ็นไซม์  ลิงกัวเพส  คลุกเค้ากับอาหาร  แต่ยังไม่ได้ถูกย่อยจะทำให้อาหารอ่อนนุ่ม  แต่ยังไม่ถูกย่อยจะทำให้อาหารอ่อนนุ่มก่อนที่จะผ่านหลอดอาหารลงไปยังกระเพาะอาหารต่อไป
            กระเพาะอาหาร : น้ำย่อยไลเปส  เรียกว่าไตรบิวทิริเนว  จะทำให้แยกไขมัน  จะย่อยไตรกลีเซอไรค์  ให้เป็นกรดไขมันขนาดเล็กและกรีเซอรอน  เอ็นไซม์ทำหน้าที่ได้ดีหากกรดมีน้อย  เมื่ออยู่ในกระเพาะอาหารจะทำให้เอ็นไซม์ทำหน้าที่ลดลง  อาหารจึงเคลื่อนไปยังลำไส้เล็ก

             ลำไส้เล็ก : เมื่อไขมันส่วนต้นของลำไส้เล็ก  ดูโดดินัม  ไขมันกระตุ้นมห้มีการขับฮอร์โมนไดลิซิสไตโดนัม  และกรดซิดรัสตินไปกระตุ้นตับ  ให้เพิ่มความเป็นด่างและการหลั่งน้ำดี  น้ำดีจะมีการย่อยไขมันให้เป็นขนาดเล็กๆ  ช่วยลดการตึงผิวของเม็ดไขมัน  ให้เอ็นไซม์ที่ผ่านเข้าไปย่อยอีกที  ต่อจากนั้นจะมีไลเปสจากตับอ่อน  เรียกว่าสติปรัน  จะย่อยกรดไขมันกลีเซอรอน  โดยใช้ระยะเวลา 1 ใน 3   จะถูกย่อยได้สมบูรณ์จะถูกดูดซึมเข้าลำไส้เล็ก  บางส่วนและบางส่วนจะไปยังลำไส้ใหญ่ขับออกมาเป็นอุจจาระต่อไป

การดูดซึม
             เมื่อไขมันถูกย่อยเป็นกรีเซอรอน  กรดไขมันที่ย่อยไม่สมบูรณ์ โคเลสเตอรอลจะถูกดูดซึมในผลังลำไว้เล็ก  เนื่องจากไขมันไม่ละลายน้ำจะต้องนำสารละลายบางชนิดเป็นตัวทำละลายเข้าไปในกระแสเลือด  โดยน้ำดี  จะมีสารที่ช่วยย่อยไขมันให้เข้าไปยังลำไส้เล็ก  การดูดซึมในเยื่อบุลำไส้เล็ก  น้ำดีจะแยกตัวออกจากไขมันแล้วหลับเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตตามเดิม  กลีเซอไรด์ที่เหลือจะถูกย่อยอย่างสมบูรร์โดยเฮ้นไซม์  เอ็นเทอริดไลเปส  กรดไขมันกลีเซอรอน  จะรวมตัวกันเป็นไตรกรีเซอร์ไรด์  อีก  จะเผ่าเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง  พร้องทั้งโคเลสเตอรอน

ปริมาณที่ควรได้รับของไขมัน

            การได้รับไขมันที่เหมาะสมอยู่กับสภาพภูมิอากาศ  และภูมิประเทศของบริเวณนั้นหากมีอากาศหนาวควรได้รับปริมาณที่มากกว่าในบริเวณที่มีอากาศร้อน  สำหรับคนไทยจะอยู่ในช่วง ร้อนละ 20 -25 มิลิกรัมต่อวัน

           ความผิดปกติได้รับไขมันน้อยเกินไป  จะส่งผลพลังงานที่ควรจะได้รับ  หากได้รับพลังงานที่ต่ำมากจะทำให้ดึงพลังงานส่วนต่างๆจากร่างกาย  เกิดการคีโตน  และจะทำให้ร่างกายขากวิตามินไปด้วยเพราะว่าต้องการไขมันเข้ามาทำละลาย  วิตามินที่ต้องใช้ไขมันทำละลาย  กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างหายขาดไปก็จะทำให้ผิวหนัง  แห้งตกสะเก็ด  ผิวหนังอักเสบติดเชื้อได้ง่าย  บาดแผลหายช้า  เป็น

             ผลของการได้รับไขมันมากเกินไป  ทำให้เกิดไขมันสะสมในร่างกาย  ทำให้อ้วนได้ง่าย  ทำให้อาหารบางอย่างไม่ย่อย  และมีไขมันในเลือดสูง