“โมโหหิว” เชื่อว่าหลายคนคงเคยเป็นอาการนี้ หรือเคยเห็นจากคนรอบข้างกันมาบ้าง แต่เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมคนเราหิวแล้วต้องโมโห? จริงๆ แล้วมีคำตอบทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถอธิบายอาการเหล่านี้ได้อยู่นะ จะรอช้าอยู่ใย หาอะไรรองท้องแล้วมาดูคำตอบกันดีกว่า

 

1 (1)

หิว แล้วทำไมต้องโมโห?

อาการโมโหหิวเป็นสัญชาตญาณการอยู่รอดอย่างหนึ่งของร่างกาย ปกติแล้ว สาร อาหาร ต่างๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันที่เรากินเข้าไปนั้น ร่างกายจะเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาลอย่างกลูโคสหรือกรดอะมิโน แล้วส่งไปตามกระแสเลือดที่ไหลเวียนไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ เพื่อส่งพลังงานให้กับร่างกาย แต่พอเวลาผ่านไป ร่างกายใช้พลังงานจนหมด ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะลดต่ำลง สมองรับรู้ได้ถึงสถานการณ์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้น สมองจึงสั่งให้เติมกลูโคสเข้าไป เมื่อสมองสั่งการให้เติมกลูโคส อวัยวะภายในต่างๆ ก็จะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติโซลและอดรีนาลีนที่ช่วยสร้างกลูโคสออกมา ซึ่งสภาวะแบบนี้นี่เองที่ทำให้ร่างกายเกิดความเครียด รู้สึกเหมือนถูกคุกคาม จึงไม่แปลกเลยถ้าจะพบว่าเวลาหิวแล้วเกิดอารณ์โมโห ไม่มีสมาธิ แถมบางครั้งยังอาจทำอะไรงงๆ เบลอๆ อีกด้วย

ยังไม่หมดแค่นั้น ทุกครั้งที่เราหิว เจ้าสารเคมีในสมองที่มีชื่อว่า นูโรเปปไทด์วาย ซึ่งเป็นตัวควบคุมอาการโกรธและก้าวราวของร่างกายก็จะทำงาน เพื่อกระตุ้นสัญชาตญาณความกระหายของเรา เพราะหากร่างกายอยู่นิ่งเฉยไม่รู้สึกอะไรเลย  ไม่หิว ไม่กิน อาจทำให้เราตายได้ในที่สุด ดังนั้น อารมณ์โมโห รุนแรง และความกระหาย(หิว)นี้เอง จะช่วยย้ำเตือนให้เราต้องเอาชีวิตรอดด้วยการเติมอาหารใส่ท้อง

2 (1)

ทางแก้อาการหิว  

วิธีจัดการกับอาการหิวให้อยู่หมัดนั่นก็คือการ กิน ใช่แล้ว หิว ก็กินสิ! แต่เมื่อความหิวมาเยือน หลายคนอาจหน้ามืดตามัวชั่วขณะ จน ณ ตอนนั้นให้กินอะไรก็ได้ แทบไม่อยากจะเลือกด้วยซ้ำ ซึ่งที่จริงแล้วการกินแบบไม่เลือกเนี่ยไม่ใช่เรื่องดีเลยนะ ควรจัดระเบียบการกินของตัวเองสักนิดเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง พยายามกินอาหารให้เป็นเวลา ไม่ปล่อยให้ตัวเองหิวโหยจนเกินไป ที่สำคัญ อย่าเลือกกินอาหารประเภท ฟาสต์ฟู้ด เป็นอันขาด เพราะอาหารพวกนี้จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นก่อนจะลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้เราโมโหหิวมากกว่าเดิมอีก!

3 (1)

กินอะไร? ยิ่งกินยิ่งหิว

อย่างที่บอกแล้วว่า ทางแก้ของอาการหิวคือ การกิน ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นของกิน จะกินยังไงท้องก็อิ่มทั้งนั้นแหละ แต่มีของกินบางประเภทนะที่กินเข้าไปแล้วก็ยังรู้สึกหิวอยู่ดี ใครที่ท้องร้องหาของกินอยู่ ลองมาดูสิว่า ของกิน ประเภทไหน ที่ยิ่งกินก็ยิ่งกระตุ้นให้หิวมากกว่าเดิมอีก

 

หนมปัง

ขนมปังขาว

ขนมปังเนื้อเนียนนุ่มสีขาวที่หลายคนชอบกินนั้น ทำมาจากข้าวสาลีที่ถูกขัดสีจนจมูกข้าวที่เป็นแหล่งอุดมของไฟเบอร์หลุดออก จนเหลือแค่เพียงแป้งกับน้ำตาลเท่านั้น(แทบไม่มีกากใยเลยนะเนี่ย) ซึ่งการกินแต่แป้งกับน้ำตาลล้วนๆ แบบนี้มีผลกระทบต่อระดับอินซูลินในเลือดด้วยนะ

5 (1)

พิซซ่า

พิซซ่าถาดใหญ่ดูจะช่วยปัดเป่าความหิวท้องกิ่วได้ดีใช่ไหม? แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย เพราะแป้งพิซซ่าทำมาจากแป้งสาลี น้ำมัน ชีส และสารกันบูด เจ้าพวกนี้เป็นตัวการที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดและความสามารถในการผลิตฮอร์โมนควบคุมความอิ่มลดลง จึงไม่น่าแปลกถ้ากินพิซซ่าแล้วจะยังหิวอยู่

6 (1)

ซีเรียล

อาหารเช้า แสนง่ายนี้ส่วนใหญ่ทำมาจากแป้งสาลีขัดขาวและน้ำตาล การกินซีเรียลในมื้อเช้าจะทำให้ระดับอิซูลินในร่างกายแปรปรวน ซึ่งการกินคาร์โบไฮเดรตจำนวนมากในช่วงที่ระดับคอร์ติซอลขึ้นสูงสุด จะทำให้ระบบการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายมีประสิทธิภาพน้อยลง และทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นด้วย ดังนั้น ถ้าใครชอบกินซีเรียลเป็นมื้อเช้าละก็ ควรเลือกซีเรียลที่ทำจากธัญพืชอุดมไปด้วยไฟเบอร์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจะดีกว่า7

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล

สารให้ความหวานเหล่านี้อาจช่วยลดเรื่องการกินหวานได้ แต่มันไม่ได้ช่วยทำให้ความหิวลดน้อยลงแต่อย่างใด ตรงกันข้าม กลับทำให้หิวมากขึ้นเสียด้วยซ้ำ นั่นเป็นเพราะสารเหล่านี้จะไปกระตุ้นเซลล์สมองให้รู้สึกเหมือนกำลังกินน้ำตาลอยู่  ซึ่งทำให้ะดับอินซูลินเกิดการแปรปรวน กินเข้าไปยังไงท้องก็ยังหิวอยู่ดี

8

ซูชิ

ดูเหมือนจะเป็นอาหารที่ดีต่อ สุขภาพ นะ แต่ความจริงแล้ว การกินซูชินี่แหละที่ทำให้เราหิวเร็วขึ้น เพราะในซูชิมีข้าวเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการกินขนมปังขาว ดังนั้นจึงไม่แปลกหากเราเพิ่งกินซูชิเข้าไปแล้วเกิดหิวหลังจากนั้นไม่นาน เพราะซูชิไม่มีกากใยจึงถูกย่อยหายไปอย่างรวดเร็วยังไงล่ะ

นอกจากอาหารข้างต้นนี้แล้ว ยังมีน้ำผักผลไม้ที่ไร้กากใย อาหารฟาร์ตฟู้ดที่อุดมไปด้วยไปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตแต่ไร้เงาไฟเบอร์ ขนมขบเคี้ยวรสเค็มที่ทำให้ระดับอินซูลินแปรปรวนขึ้นลงอย่างรวดเร็ว อาหารที่ใส่ผงชูรสเยอะจนเข้าไปทำลายการทำงานของเลปติน ฮอร์โมนที่สร้างความรู้สึกอิ่ม เป็นต้น เห็นแบบนี้แล้ว ก่อนหาอะไรลงท้องคงต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับบ้างแล้วละเนอะ

ขอบคุณที่มา: http://www.iflscience.com  |  http://www.thairath.co.th/clip/23119  |  http://health.kapook.com/view96139.html